วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กระบองเพชร

Ferocactus pilosus ต้นกระบองเพชรในเม็กซิโก
Ferocactus pilosus ต้นกระบองเพชรในเม็กซิโก

กระบองเพชร (Mila sp., อังกฤษ: cactus) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อยู่ในทะเลทราย ต้นกระบองเพชรสามารถยืนต้นอยู่ได้ แม้อยู่ในทะเลทรายที่แห้งแล้งกันดาร โดยไม่ตาย เพราะนานๆ ครั้งหนึ่งจะมีฝนตกจำนวนมาก โดยต้นกระบองเพชรจะเก็บน้ำไว้ในลำต้นเป็นจำนวนมาก มันจะใช้น้ำตลอดระยะเวลาแห้งแล้งที่ยาวนาน และมันจะเปลี่ยนใบเป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำ ดังนั้นมันจึงสามารถอยู่ในทะเลทรายได้

สรรพคุณทางสมุนไพรของกระบองเพชร สามารถใช้บรรเทาโรคบิดได้ สารสกัดกระบองเพชรช่วยลดอาการเมาค้าง

กระบองเพชรมีชื่ออื่นดังนี้: โบตั๋น ท้าวพันตา แคกตัส






มีหลายชนิดที่อยู่ในทะเลทราย แต่บางชนิดอยู่ตามป่าธรรมดาหรือสภาพแวดล้อมทั่วไป กระบองเพชรส่วนใหญ่จะมีตามทะเลทรายมากกว่า ต้นกระบองเพชรที่ ขายทั่วไปที่จะเป็นแบบบอนไซหรือชนิดที่มีขนาดปกติ แบบทั่วไปที่มีขนาดปานกลางเท่ากับต้นจริง กระบองเพชรจะเปลี่ยนใบเป็นหนาม เพื่อลดการคายน้ำ เป็นไม้ประดับ

[แก้]ลักษณะทางพฤษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป กระบองเพชรเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นมีความสู

ประมาณ 1-12 ฟุต ลำต้นมีสีเขียวหรือเขียวคล้ำ มีขนหรือหนามรอบต้นหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ลักษณะต้นเป็นเหลี่ยมรูปทรงกระบอกรูปรงกลม หรือแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ใบคือส่วนของลำต้นที่ทำหน้าที่แทนใบ หรือบางชนิดก็มีใบแบนกลมหน้าใหญ่ อาจมีดอกสีแดง สีเหลือง หรือสีขาว ลักษณะดอกและขนาดดอกขึ้นกับชนิดพันธุ์

[แก้]การปลูกเลี้ยง

การปลูกแบ่งเป็น 2 วิธี

  1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในอาคารและภายนอกอาคาร ใช้กระถางทรงและขนาดต่างกันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ คือตั้งแต่ขนาด 4-10 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ทรายหรือดินร่วน อัตรา 1:1 ผสมดินปลูก การเปลี่ยนกระถางแล้วแต่ความเหมาะสมของชนิดพันธุ์และผู้ปลูก แต่ถ้าจะให้เจริญสวยงามต้องควบคุมเรื่องปุ๋ย และน้ำให้ถูกวิธี
  2. การปลูกในแปลงปลูกเป็นแนวรั้วบ้าน แต่จะต้องเป็นชนิดพันธุ์ ที่ค่อนข้างใหญ่ แข็งแรง ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1:3 ผสมดินปลูก

[แก้]การดูแลรักษา

  • แสง : ต้องการแสงแดดน้อยในร่ม จนถึงแสงแดดจัดกลางแจ้ง
  • น้ำ : ต้องการปริมาณน้ำน้อย ทนต่อความแห้งแล้งให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง หรือแล้วแต่ความเหมาะสม
  • ดิน : ดินร่วนปนทราย ความชื้นปานกลาง
  • ปุ๋ย : ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 5-6 ครั้ง
  • การขยายพันธุ์ : การใช้เมล็ด และการปักชำ การปักชำเป็นวิธีที่นิยมและได้ผลดี
  • ศัตรูพืช : ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรูพืช เพราะเป็นไม้ที่มีความทนทานต่อการทำลายของศัตรูพืชได้ดี
  • โรค : โรครากเน่า (Sclerotium root rot)
    • อาการ : ลำต้นเหี่ยว และแคระแกร็น
    • การป้องกัน : ควบคุมการให้น้ำ และความชื้นอย่างเหมาะสม
    • การรักษา : ตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้งหรือปลูกใหม่

[แก้]

ว่านนางคำ

ว่านนางคำ

ว่านนางคำจัดเป็นว่านหลักที่นักเล่นว่านสมัยโบราณมักมีไว้ประจำครัวเรือนเสมอเนื่องจากเป็นว่านที่มีอิทธิคุณสูง และสรรพคุณทางยาก็สามารถใช้ได้มากมายอีกด้วยที่สำคัญว่านนางคำเป็นว่านที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสีท่านมักใช้อยู่เป็นประจำ โดยเมื่อเวลาที่ท่านสรงน้ำเสร็จท่านก็จะนำว่านนางคำมาทาศรีษะและตามร่างกายท่านมักทำเช่นนี้จนเป็นกิจวัตรจนเรื่องถึงพระเนตรพระกรรณ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ และพระองค์ทรงตรัสสรรพยอกว่าหัวเหลืองสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)ท่านอาจเล็งเห็นถึงคุณวิเศษที่มีอยู่ในว่านชนิดนี้ก็เป็นได้ถึงได้นำมาใช้อยู่เสมอๆ

ลักษณะของว่านนางคำจัดอยู่ในตระกูลวงศ์ขิง (Zingiberaceae) แต่มีบางท่านว่าว่านนางคำอยู่ในตระกูลพุทธรักษา ซึ่งอาจเป็นการเข้าใจผิดโดยอาจใช้มติของตัวเอง แล้วสรุปเอาตามความเข้าใจจึงขอบอกกล่าวกันไว้เพื่อป้องกันการสับสนครับ ลักษณะหัวเป็นแง่งกลมอวบใหญ่เนื้อในหัวสีเหลืองจัด มีกลิ่นหอมเย็น รสฝาดลำต้นมีลักษณะเป็นกาบใหญ่หุ้มรัดเป็นลำค่อนข้างแบนสีเขียว ก้านใบยาวแข็งใบใหญ่สีเขียวเข้ม เส้นแขนงนูนถี่เห็นได้ชัด โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลมกระดูกและขอบใบสีแดงเรื่อๆ เฉพาะใบแก่ เป็นพืชล้มลุกเจริญในฤดูฝนและทิ้งใบฝังหัวในฤดูแล้ง

การเลี้ยงว่านต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของว่านด้วยในกรณีของว่านที่ทิ้งใบฝังหัวเมื่อพ้นหน้าฝนนั้น หลายท่านไม่เข้าใจคิดว่าว่านตายก็นำหัวไปทิ้ง ซึ่งถ้าว่านฝังหัวก็ไม่ต้องตกใจจากเดิมการรดน้ำในตอนที่ว่านมีใบนั้นให้รดจนชุ่มแต่ถ้าทิ้งใบเหลือแต่หัวการรดน้ำต้องรดเพียงแค่หมาดๆ หากไปรดมากๆเหมือนตอนมีใบก็อาจทำให้หัวว่านเน่าได้ครับ


ในตำราของอาจารย์หล่อขันแก้ว ปรมาจารย์แห่งวงการว่านไทยท่านกล่าวไว้ว่าว่านนางคำนั้นมี ๓ ชนิดคือ
ชนิดที่ ๑
มีลักษณะ ลำต้นแดง ก้านใบแดง ใบเรียวสีเขียว หัวมีเนื้อเป็นสีเหลืองดังหัวขมิ้นเน่า

ชนิดที่ ๒
มีลักษณะ ลำต้นเขียว ใบเขียวเนื้อในหัวมีสีขาว

ชนิดที่ ๓ต้นเขียว กลางใบแดงเนื้อในหัวมีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอม รสฝาด ใบโตขนาดใบว่านคันทมาลาในชนิดหลังนี้หาง่าย เป็นที่นิยมมีปลูกกันทั่วไปเป็นชนิดที่แพทย์แผนโบราณนำมาเป็นยา

ประโยชน์ผู้รู้แต่โบราณนับถือกันมากว่า ว่านนางคำถือเป็นพญาว่านต้นหนึ่งเช่นกันเนื่องจากสามารถคุ้มครองและแก้พิษว่านทั้งปวงได้ทั้งยังเป็นว่านที่ปลูกไว้ประจำบ้าน จะเป็นเสน่ห์เมตตามหานิยมแก่คนที่อยู่ในบ้านนั้น

ทางเภสัชมักนิยมใช้หัวสดตำให้ละเอียดผสมสุราโรง๔๐ ดีกรี พอกแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก โรคเม็ดผดผื่นคันตามร่างกายมีบางตำราท่านว่านำหัวสดโขลกแช่กับน้ำมันเบนซินผสมการบูรเล็กน้อยทาแก้ฟกช้ำหรือปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่ประเด็นหลังนี้ไม่ขอแนะนำครับเพราะผิวหนังอาจเกิดอาการแพ้น้ำมันได้ หรือหากใช้แก้อาการปวดท้อง ถ่ายท้องให้ใช้หัวสดฝนกับน้ำปูนใสกินอาการดังกล่าวจะทุเลาลง หรือจะกินหัวสดๆกับเหล้าขาวก็ได้เช่นเดียวกัน รากใช้เป็นยาขับเสมหะและใช้เป็นยาสมาน แก้โรคท้องร่วงโรคหนองในเรื้อรัง และว่านนางคำสามารถนำมาปรุงเข้ากับยาสมุนไพรอื่นๆ ได้ปัจจุบันตามร้านขายยาแผนโบราณยังคงใช้เป็นตัวยารักษาโรคเช่นเดิมสรรพคุณทางยาที่ได้กล่าวไปทั้งหมดหากท่านใดต้องการใช้ต้องปรึกษากับเภสัชกรแผนโบราณเสียก่อนนะครับเดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน


ว่านรางทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hymenocallis littoralos Salosb cv.variegata

วงศ์ AMARYLLIDACEAE

ชื่อท้องถิ่น “รางทอง” เฉยๆ หรือบางทีก็เรียกซะเต็มยศว่า “ว่านสี่ทิศรางทอง” สุดแล้วแต่ว่าใครจะเรียกว่าอะไร แต่ขอให้มี “รางทอง” ในนั้นเป็นใช้ได้


การปลูกและขยายพันธุ์เจ้า”รางทอง”กันบ้าง “ว่านรางทอง”เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำดี เช่น ดินปนทรายที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง 6.1 ในกรณีที่ปลูกเลี้ยงในกระถางควรใช้ดินผสมที่มี “ดิน : ทราย : ขี้เถ้าแกลบ : ปุ๋ยหมัก” ในอัตราส่วน 2 : 1 :1 :1 คือดิน 2 ส่วน ทราย 1 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 1 ส่วน และปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ปริมาณ 1 กิโลกรัม และปูนขาวครึ่งกิโลกรัม และรดปุ๋ยเคมีละลายน้ำสูตร 15-15-15 ความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมต่อลิตรทุกสัปดาห์


การขยายพันธุ์ “ว่านรางทอง” ทำได้หลายวิธี ตั้งแต่ “การเพาะเมล็ด” ที่เกิดจากการผสมละอองเกสร ผลจะแก่ภายใน 30-35 วัน เมล็ดรางทองจะไม่มีการพักตัว ควรนำเมล็ดไปเพาะทันที หรือภายใน 7 วัน ใช้วัสดุที่การระบายน้ำดีและมีความชื้นสม่ำเสมอ เมล็ดจะงอกภายใน 10-14 วัน ซึ่งต้องขออธิบายเพิ่มเติมเรื่อง “การพักตัว” ของเมล็ดคราวๆ ก็คือ ตามปกติเมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิดจะมีระยะการพักตัวก่อนที่จะงอกออกมาเป็นต้นไม้อย่างที่เราเห็น ด้วยกลไกตามธรรมชาติที่สร้างสารต่างๆที่ช่วยรักษาเมล็ดจากการทำลายของสิ่งต่างๆ เห็นง่ายๆก็คือ “เปลือก” ที่เป็นอุปสรรคด่านแรก เมล็ดพืชจึงมีความหนาของเปลือกแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการที่จะช่วยให้เมล็ดงอกไวกว่าปกติ ก็มีหลายวิธี ...แต่ขอยกไปกล่าวในภายหน้าก็แล้วกัน

วิธีต่อมาก็คือ “การแยกหัวหรือการแยกหน่อ” เป็นการขยายพันธุ์เพื่อให้ได้ต้นเหมือนเดิมหัวจะเกิดขึ้นบริเวณกาบใบ และ “วิธีการผ่าหัว” เป็นการขยายพันธุ์ที่ง่ายๆและได้จำนวนมาก โดยการเอามีดคัตเตอร์คมๆมาผ่าหัวตามยาวออกเป็น 4-8 ส่วน นำแต่ละส่วนที่ผ่าแยกไว้มาทา “ปูนแดง” ที่คนไทยสมัยก่อนกินกับหมาก ตรงจุดที่เราเฉือนแยกเพื่อป้องกันเชื้อรา จากนั้นนำปักชำในวัสดุปลูกที่มีการระบายน้ำดี หลังจากนั้นอีกไม่นานก็เพิ่มจำนวนรางทองให้เราภูมิใจ ส่วนวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อก็จะยากไปคงไม่ขอกล่าวถึงแล้วกันนะครับ

ปลาพะยูน




พะยูน มีชื่อเรียกหลายชื่อไม่ว่าจะเป็น หมูน้ำ วัวทะเล หมูดุด และดูกอง แตกต่างกันออกไปตามถิ่น บางคนก็เรียกเจ้าสัตว์ชนิดนี้ว่า เงือก เชื่อว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกับช้าง แต่วิวัฒนาการอาศัยอยู่ในทะเล ปัจจุบันเหลือพบในประเทศไทยเพียงสกุลเดียว คือ ดูกอง( Dugong )

ส่วนมากอยู่เป็นฝูงตามชายฝั่งน้ำตื้นมากกว่าน้ำลึกและเป็นบริเวณที่คลื่นลมไม่แรง ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในการกินหญ้าทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนในช่วงน้ำขึ้น และหลบไปอาศัยในร่องน้ำในช่วงน้ำลง ถ้าในบริเวณที่อยู่อาศัยเกิดคลาดแคลนหญ้าทะเล พะยูนจะกินสาหร่ายแทนหรืออพยพไปหาหญ้าทะเลแหล่งใหม่
ในไทยมีพะยูนอยู่ทั้งสองฝั่งคือทั้งอ่าวไทยและอันดามัน แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก

บริเวณทะเลระหว่างบ้านเจ้าไหม-เกาะลิบงเป็นที่อาศัยของพะยูน พะยูนปกติจะเป็นสัตว์รักสงบที่ใกล้สูญพันธู์ เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยอยู่ในทะเล จัดเป็นสัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนมและกินพืชชนิดเดียวที่เหลืออยู่ ชอบอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีระดับน้ำค่อนข้างตื้น ประมาณ 1-12 เมตร

พะยูนหากินอยู่ตามแนวหญ้าทะเลที่มีความลึกประมาณ 1-3 เมตร และหลบหลีกศัตรูลงไปที่ความลึกราว 2-7 เมตร โดยเฉพาะที่มีน้ำทะเลขุ่น ปราศจากคลื่นลมรุนแรง เพราะเป็นการง่ายต่อการทรงตัวในน้ำขณะกินหญ้าทะเล พะยูนมีรูปร่างทรงกลมกระสวย ช่องท้องกว้าง ช่วงหัวสั้นเล็ก มีลักษณะพิเศษตรงที่หางเป็นแฉกและมีเขี้ยว หางแผ่แบนใหญ่แนวราบ ตาขนาดเล็ก การมองเห็นไม่ดีนัก แต่มีหูขนาดเล็กที่รับเสียงผ่านมาทางน้ำได้เป็นอย่างดี มีรูจมูกอยู่ตอนหน้าเปิดขึ้นด้านบน ผิวหนังของพะยูนหนามาก มีขนเป็นเส้นหยาบกระด้างกระจายอยู่ทั่วไป มีสีผิวเทาอมชมพู ขนาดของพะยูนมีความยาวตั้งแต่ 1-4 เมตร ลูกพะยูนเกิดใหม่มีความยาวเกือบ 1 เมตร และมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 60-100 กก.

ทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงชุมชนท้องถิ่นต่างสนับสนุนการอนุรักษ์พะยูน สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นการติดเครื่องประมงโดยบังเอิญ ความเสื่อมโทรมของหญ้าทะเลที่เป็นแหล่งอาหาร สภาวะมลพิษต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้จำนวนพะยูนลดลงอย่างรวดเร็ว อัตราการตายของพะยูนสูงถึง 12 ตัวต่อปี คาดว่าปัจจุบันในประเทศไทยเหลืออยู่ไม่เกิน 200 ตัวและอาจสูญพันธุ์ในเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า


ผลไม้ไทย

2. ลิ้นจี่ เป็นผลไม้ชั้นสูงของคนจีนมาเป็นเวลานานแล้ว มีเรื่องเล่ากันว่า ฮ่องเต้ของเมืองจีนในสมัยหนึ่ง ต้องให้ทหารผู้ที่ดูแลพระองค์จัดหาลิ้นจี่น ผิวสวยสีแดงสด เพื่อนำไปถวายพระมารดา และพระมเหสีของพระองค์เป็นประจำ จึงเกิดการแพร่หลายไปในขุนนางชั้นสูงต่อกัน จนเป็นที่รู้กันทั่วไป เพราะผลที่มีสีแดงของลิ้นจี่นี่เอง ทำให้เป็นที่นิยมนำลิ้นจี่ไปใช้ในงานมงคล ฉะนั้น ลิ้นจี่คือผลไม้ที่มีสีแดงสด ซึ่งคนจีนถือว่าเป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคล


ดอกนาร์ซิสซัส



ดอกนาร์ซิสซัสนี้ ว่ากันว่า มีพิษร้ายแรงมากมาย
มีหลายคนที่สับสนแยกไม่ออกระหว่างดอกไม้นี้กับหัวหอม
แต่ถ้ากินเข้าไปแล้วล่ะก็ เจอดีแน่
ทั้งอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วงอย่างแรง

ดอกไม้พิษ



เราก็ไม่แน่ใจชื่อภาษาไทยของมันเหมือนกัน
เพราะงั้น เราใช้ชื่อเต็มของมันดีกว่า เกิดอ่านผิดจะแย่ทีเดียว
ต้นไม้นี้มีดอกที่สวย รูปทรงเหมือนกระดิ่ง และจะงอกงามมากในฤดูใบไม้ผลิ
แต่ว่าใบของมันมีพิษร้ายเช่นเดียวกับน้ำหวาน
ถ้าเผลอกินเข้าไป อาจทำให้ริมฝีปากไหม้ได้
จากนั้นก็จะคลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว
ถ้าหากว่าเผลอกินเข้าไป ให้รีบดื่มน้ำตามมากๆ จะช่วยได้

ต้นไฟคัส



ไฟคัส ต้นไม้เล็กๆ ที่มีใบเล็ก และมียางที่มีพิษเหลือร้าย
มันสามารถเติบโตได้หลากหลายที่ แม้แต่ในหม้อเก่าๆก็โตได้
ถ้าหากว่ายางของมันโดนผิวเข้าล่ะก็ จะเจ็บปวดมากทีเดียว
และต้องไปหาหมอเพื่อขอยาทาแก้ปวดแสบปวดร้อน

ปลาการ์ตูน

ปลาการ์ตูน

ปลาการ์ตูนอินเดียน yellow skunk anemonefish, A. akallopisos

ลำตัวมีสีเนื้ออมเหลืองทองอมชมพู มีแถบขาวเล็ก ๆ พาดผ่านบริเวณหลังตั้งแต่ปลายจมูกจนจรดครีบหาง อาศัยในที่ลึกตั้งแต่ 3-25 เมตรขนาด โตที่สุดประมาณ 10-11 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla mertensii อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่คล้ายปลาการ์ตูนส้มขาว พบได้บ่อยทางฝั่งอันดามัน ส่วนอ่าวไทยพบที่เกาะโลซิน

ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง sebae anemonefish, A. sebae

ลำตัวมีสีดำ ส่วนหางมีสีเหลือง มีแถบขาว 2 แถบ แถบแรกพาดอยู่บริเวณหลังตา อีกแถบพาดผ่านท้องขึ้นมายังครีบหลังเป็นชนิดที่หายาก พบเฉพาะฝั่งอันดามันในที่ลึกตั้งแต่ 2-25 เมตร ขนาดโตที่สุดประมาณ 14 เซนติเมตร อยู่กับดอกไม้ทะลชนิดที่ฝังทรายได้แก่ Stichodactyia haddoni มีสีน้ำตาลหนวดสั้นมักอยู่กันเป็นคู่กับลูกเล็ก ๆ 3-4 ตัว มีนิสัยดุร้ายกับปลาอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัว

ปลาการ์ตูนแดง Spine - cheek anemonefish, Premnas biaculeatus (Bloch, 1790)

ปลาการ์ตูนแก้มหนาม หรือการ์ตูนทอง หรือการ์ตูนแดง เป็นปลาชนิดเดียวกัน (species) ลำตัวมีสีส้มแดง เมื่ออายุมากขึ้นสีจะแดงมากขึ้นจนเป็นสีแดงเข้มอมดำ ลำตัวมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัว 3 แถบ บริเวณหลังตา กลางลำตัว และโคนหาง ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือมีหนามแหลมบริเวณใต้ตา ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 16 ซ.ม. พบได้ตามรอบนอกของแนวปะการัง และส่วนที่เป็นแนวปะการังลาดชัน มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor
ในตลาดซื้อขายปลาสวยงามปลาชนิดนี้ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะสี คือ
1. ปลาการ์ตูนทอง ลักษณะคล้ายกับที่กล่าวมาแต่แถบสีขาวที่พาดขวางลำตัวเป็นสีขาวอมเหลืองทอง และสีแดงบริเวณลำตัวจะเข้มกว่าปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนทองเป็นปลาที่มีราคาแพงเป็นลำดับต้น ๆ ในกลุ่มปลาการ์ตูน
2. ปลาการ์ตูนแดง คล้ายกับปลาการ์ตูนทองแต่แถบที่สีขาวที่พาดขวางลำตัวจะเป็นสีขาว ปลาการ์ตูนแดงจะซื้อขายกันในราคาที่ถูกกว่าปลาการ์ตูนทองประมาณ 1 เท่าตัว
ปลาการ์ตูน

ปลาการ์ตูนส้มขาว clown anemonefish, A. ocellaris

ลำตัวมีสีส้มเข้ม มีแถบสีขาว 3 แถบ พาดบริเวณส่วนหัว ลำตัวและบริเวณหาง ขอบของแถบสีขาวเป็นสีดำ ขอบนอกของครีบเป็นสีขาวและขอบในเป็นสีดำ อาศัยในที่ลึก ตั้งแต่ 1-15 เมตร ขนาดตัวโตที่สุดประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla gigantea เป็นต้น ในดอกไม้ทะเลแต่ละกออาจพบปลาการ์ตูนชนิดนี้อยู่ด้วยกัน 6-8 ตัว ปลาการ์ตูนส้มขาวพบได้บ่อยที่สุดในทะเลอันดามัน อ่าวไทยพบได้ที่เกาะโลซิน จังหวัดนราธิวาส อาศัยอยู่เป็นครอบครัวใหญ่

ปลาการ์ตูนอานม้า saddleback anemonefish, A. polymnus

ลำตัวมีสีน้ำตาลอมดำ มีแถบขาว 2 แถบ แถบแรกอยู่ที่หลังตา อีกแถบเริ่มบริเวณกลางลำตัวเป็นแถบโค้งพาดเฉียงขึ้นไปที่ครีบหลัง ลักษณะคล้ายอานม้า พบในที่ลึก ตั้งแต่ 2-30 เมตร ขนาดโตที่สุดประมาณ 12 เซนติเมตร อยู่กับดอกไม้ทะเลชนิดที่ฝังตัวอยู่ตามพื้นทราย คือ Heteractis crispa และ Stichodactyla haddoni พบเฉพาะในอ่าวไทย

ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ tomato anemonefish, A. frenatus, Brevoort, 1856

ปลาเต็มวัยลำตัวมีสีดำอมแดง ครีบทุกครีบมีสีแดง มีแถบสีขาว 1 แถบ พาดขวางบริเวณหลังตา ปลาการ์ตูนปลาขนาดเล็กจะมีลำตัวและครีบเป็นสีแดง มีแถบขาวพาดขวางลำตัว 3 แถบ บริเวณหลังตา ตอนกลางของลำตัว และโคนหาง ในปลาวัยรุ่นแถบสีขาวที่โคนหางจะหายไปขนาดโตเต็มวัยประมาณ 12 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามลากูน หรือรอบนอกของแนวปะการัง มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor เคยมีรายงานว่าพบได้ในประเทศไทย (Allen, 2000) แต่ปัจจุบันไม่มีใครพบอีก (ธรณ์,2544) ปลาที่ซื้อขายในตลาดประเทศไทยเป็นปลาที่นำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย

ปลาการ์ตูนดำแดง red saddleback anemonefish, A. frenatus, Brevoort, 1856

ปลาเต็มวัยลำตัวมีสีส้มแดงและมีปื้นสีดำขนาดใหญ่บริเวณหลัง ส่วนปลาวัยรุ่นจะยังไม่มีปื้นสีดำ และจะมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัวบริเวณหลังตา ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 12 เซนติเมตร อาศัยตามแนวปะการังชายฝั่งที่เป็นพื้นทราย หรือตามส่วนลาดชันของแนวปะการัง มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor หรือ Heteractis crispa พบทางฝั่งทะเลอันดามัน

ปลาการ์ตูนลายปล้อง clark's anemonefish, A. clarkii

ลำตัวมีสีดำเข้ม ส่วนหน้าครีบอกและหางมีสีเหลืองทอง มีแถบขาว 3 แถบ ตรงส่วนหัว ลำตัว และโคนหาง ปลาชนิดนี้มีความผันแปรของสีสูง มีไม่ตำกว่า 8 รูปแบบ สีของลูกปลาวัยรุ่นก็ต่างจากปลาเต็มวัย พบทั้งอ่าวไทย และอันดามัน จัดเป็นปลาการ์ตูนใหญ่ที่สุดของเมืองไทยขนาดโตที่สุดประมาณ 15 เซนติเมตร อาศัยอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลหลายชนิด บางครั้งเป็นชนิดที่พบตามพื้นทราย ปลาการ์ตูนลายปล้องมีการแพร่กระจายกว้างมากอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม 3-4 ตัว โดยมีตัวเมีย ซึ่งมีขนาดโตที่สุด เป็นจ่าฝูง ตัวที่มีขนาดรองลงมาจะเป็นตัวผู้

ปลาการ์ตูนอินเดียน yellow skunk anemonefish, A. akallopisos

ลำตัวมีสีเนื้ออมเหลืองทองอมชมพู มีแถบขาวเล็ก ๆ พาดผ่านบริเวณหลังตั้งแต่ปลายจมูกจนจรดครีบหาง อาศัยในที่ลึกตั้งแต่ 3-25 เมตรขนาดโตที่สุดประมาณ 10-11 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla mertensii อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่คล้ายปลาการ์ตูนส้มขาว พบได้บ่อยทางฝั่งอันดามัน ส่วนอ่าวไทยพบที่เกาะโล

ดอกกุหลาบ

กุหลาบมาจากคำว่า "คุล" ในภาษาเปอร์เชีย แปลว่า "สีแดง ดอกไม้ หรือดอกกุหลาบ" และเข้าใจว่าจากเปอร์เซียได้แพร่เข้าไปในอินเดีย เพราะในภาษาฮินดีมีคำว่า "คุล" แปลว่า "ดอกไม้" และคำว่า "คุลาพ" หมายถึงกุหลาบอย่างที่ไทยเราเรียกกัน แต่ออกเสียงเป็น "กุหลาบ" ส่วนคำว่า "Rose" ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำว่า "Rhodon" ที่แปลว่ากุหลาบในภาษากรีก

ดอกกุหลาบ กุหลาบเข้ามาเมืองไทยสมัยใดไม่ทราบแน่ชัด แต่จากบันทึกของ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บันทึกไว้ว่าได้เห็นกุหลาบที่กรุงศรีอยุธยา และที่แน่นอนอีกแห่งก็คือ ในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กล่าวถึงกุหลาบไว้ว่า

กุหลาบกลิ่นเฟื่องฟุ้ง
หอมรื่นชื่นชมสอง
นึกกระทงใส่พานทอง
หยิบรอจมูกเจ้า

เนืองนอง
สังวาส
ก่ำเก้า
บ่ายหน้าเบือนเสีย

สำหรับตำนานดอกกุหลาบของไทยเล่ากันว่า เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 เรื่อง มัทนะพาธา ในเรื่องเล่าถึงเทพธิดาองค์หนึ่งชื่อ "มัทนา" ซึ่งนางได้มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ "สุเทษณะ" ซึ่งพระองค์ทรงหลงรักเทพธิดา "มัทนา" มากแต่นางไม่มีใจรักตอบ จึงถูกสาบให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ จึงกลายเป็นตำนานดอกกุหลาบแต่นั้นมา


ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมอสี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วงศ์ปลาหมอสี
ปลาหมอม้าลาย (ตัวเมีย-Archocentrus nigrofasciatus)
ปลาหมอม้าลาย (ตัวเมีย-Archocentrus nigrofasciatus)

วงศ์ปลาหมอสี เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน และวงศ์ปลาบู่ วงศ์ปลาหมอสีมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (ออกเสียงในภาษาอังกฤษว่า ซิค-ลิด-เด) ปลาในวงศ์นี้มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า cichlid (ออกเสียงว่า ซิค-ลิด) ภาษาไทยนิยมเรียกว่า ปลาหมอสี หรือ ปลาหมอเทศ

ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด โดยมีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีถึง 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ บางชนิดพบในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ

ลักษณะเฉพาะของปลาหมอสี

  • มีกรามพิเศษในลำคอ (pharyngeal jaws) นอกเหนือไปจากกรามแท้
  • มีรูจมูกสองรู ซึ่งต่างจากปลาส่วนใหญ่ที่มีสี่รูจมูก
  • ไม่มีชั้นกระดูกใต้รอบตา
  • เส้นข้างลำตัวขาดตอน ตัดแบ่งเป็นสองส่วน
  • กระดูกหู (Otolith) มีลักษณะเฉพาะ
  • ลำไส้เล็กหันออกจากทางด้านซ้ายของกระเพาะ
  • มีพฤติกรรมการเลี้ยงดูไข่และลูกอ่

ปลาปิรันยาแดง

ปลาปิรันยาแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปิรันยาแดง
ปิรันยาท้องแดง
ฝูงปิรันยาแดงในตู้เลี้ยง
ฝูงปิรันยาแดงในตู้เลี้ยง
กรามปิรันยาแดงเห็นฟันแหลมคมชัดเจน
กรามปิรันยาแดงเห็นฟันแหลมคมชัดเจน

ปลาปิรันยาแดง หรือ ปิรันยาท้องแดง จัดเป็นปลาปิรันยาที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดี อยู่ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) วงศ์ย่อย Serrasalminae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pygocentrus nattereri มีรูปร่างคล้ายกับปลาในวงศ์นี้โดยทั่วไป แต่กรามล่างยื่นยาวออกมาเห็นได้ชัด ภายในปากมีฟันแหลมคม เกล็ดมีขนาดเล็กมีสีแดงอมชมพูแวววาวดูสวยงามเหมือนกากเพชร

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 33 เซนติเมตร หนักราว 3.5 กิโลกรัม

ปลาปิรันยาแดงมีถิ่นกำเนิดที่ลุ่มแม่น้ำอเมซอน บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลและปารากวัย มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ว่ายน้ำและล่าเหยื่อด้วยความรวดเร็วและดุดัน จึงขึ้นชื่อว่าเป็นปลาที่ดุร้าย สามารถจู่โจมสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ แต่โดยมากหากจะโจมตีสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าแล้ว สัตว์ตัวนั้นต้องได้รับบาดเจ็บและอ่อนแออยู่แล้ว

ในวัยอ่อน จะมีจุดกลมสีแดงกระจายอยู่ทั่วตัว และจุดเหล่านั้นจะเล็กลงเมื่อปลาโตขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ ปลาตัวเมียวางไข่ได้ทีละ 6,000 ฟอง และเป็นปลาที่มีความอดทนมาก สามารถมีชีวิตอยู่บนบกที่ไม่มีน้ำได้นานถึง 2 ชั่วโมง

แม้จะขึ้นชื่อในเรื่องความดุร้าย แต่ที่จริงแล้ว ปลาปิรันยาแดงเป็นปลาที่ขี้ตกใจมาก จึงต้องอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่เพื่อที่จะโจมตีเหยื่อได้ เป็นปลาที่คนพื้นเมืองนิยมกินเป็นอาหาร และตกเป็นเหยื่อของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า หลายประเทศได้มีกฎหมายห้ามนำเข้าหรือนำมาเลี้ยงในประเทศเพราะเกรงว่าอาจจะหลุดลงไปแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ประเทศไทย เป็นต้น แต่ในบางประเทศอนุญาตให้เลี้ยงได้ เช่น ประเทศญี่ปุ่น แต่กระนั้นก็มียังมีลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายและเลี้ยงอยู่