วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมอสี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วงศ์ปลาหมอสี
ปลาหมอม้าลาย (ตัวเมีย-Archocentrus nigrofasciatus)
ปลาหมอม้าลาย (ตัวเมีย-Archocentrus nigrofasciatus)

วงศ์ปลาหมอสี เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน และวงศ์ปลาบู่ วงศ์ปลาหมอสีมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (ออกเสียงในภาษาอังกฤษว่า ซิค-ลิด-เด) ปลาในวงศ์นี้มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า cichlid (ออกเสียงว่า ซิค-ลิด) ภาษาไทยนิยมเรียกว่า ปลาหมอสี หรือ ปลาหมอเทศ

ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด โดยมีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีถึง 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ บางชนิดพบในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ

ลักษณะเฉพาะของปลาหมอสี

  • มีกรามพิเศษในลำคอ (pharyngeal jaws) นอกเหนือไปจากกรามแท้
  • มีรูจมูกสองรู ซึ่งต่างจากปลาส่วนใหญ่ที่มีสี่รูจมูก
  • ไม่มีชั้นกระดูกใต้รอบตา
  • เส้นข้างลำตัวขาดตอน ตัดแบ่งเป็นสองส่วน
  • กระดูกหู (Otolith) มีลักษณะเฉพาะ
  • ลำไส้เล็กหันออกจากทางด้านซ้ายของกระเพาะ
  • มีพฤติกรรมการเลี้ยงดูไข่และลูกอ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น